มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

ขอแสดงธรรมสังเวชในการจากไปของ

พระเดชพระคุณพระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ. ๕) สู่แดนนฤพาน

พระเดชพระคุณพระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ. ๕)​ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ละสังขารแล้วในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๒๓.๕๐ น.

     ชาตะ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑

     มรภาพ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

     อายุ  ๙๒ ปี พรรษา ๗๓ ปี

กำหนดการสรงน้ำหลวงอาบศพ พระเดชพระคุณพระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร ปธ.๕) ณ อาคารสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ

วันจันทร์ ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๓

     เวลา ๑๒.๐๐ น. เคลื่อนสรีระสังขารถึงวัดบวรนิเวศวิหาร

     เวลา ๑๓.๐๐ น. เปิดให้คณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์สรงน้ำ

     เวลา ๑๗.๐๐ น. พิธีสรงน้ำหลวงอาบศพ

     เวลา ๑๙.๐๐ น. สวดพระอภิธรรม

คำขอขมาพระเดชพระคุณพระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ. ๕)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

    มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

    มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

    กรรมใดที่ลูกได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อองค์หลวงพ่อด้วยกายกรรม ด้วยวจีกรรม และด้วยมโนกรรม ที่ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี

    ด้วยความขาดสติรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ขอองค์หลวงพ่อ ได้โปรดเมตตางดโทษล่วงเกินนั้นให้แก่ลูกหลานด้วยเทอญ

ประวัติพระเดชพระคุณพระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ. ๕)

    พระเดชพระคุณพระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ. ๕) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร นามเดิม แบน นามสกุล อุปกลิ่น บิดาชื่อ นายปั้น มารดาชื่อ นางมะลิ เกิด ณ บ้านเกาะจาก ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๘ ต.ค. ๒๔๗๑ อายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเกาะจาก โดยมีพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฐาภรณเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค) เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูถาวรศีลวัฒน์ (เจริญ ถาวโร) เป็นพระศีลาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ ก.ค. ๒๔๙๑ ณ วันนั้นผู้เข้ามาอุปสมบทพร้อมกันจำนวน ๓๑ รูป ได้รับอุปสมบทชุดที่ ๑๔

    ปลายปี ๒๔๙๑ เข้าสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง ในสนามสอบรวมต้องแจวเรือไปปากพนังเป็นเวลา ๖ ชั่วโมง พัก ณ วัดรามประดิษฐ์ 4 คืน เมื่อสอบ 4 วันเสร็จแล้ว เดินทางกลับโดยเปลี่ยนกันแจวเรือ ต่อมาต้องการมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งใจอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเท่านั้น จึงเดินทางมาปี 2492 แต่มาแล้วก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีที่ว่าง แม้ว่าจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ แล้วก็ตาม ต้องไปพักที่วัดเขมาภิรตาราม ท่านเล่าว่า การเดินทางสมัย นั้นลำบากแค่ไหนจากนครศรีธรรมราช กว่าจะถึงกรุงเทพฯ โดยทางเรือใช้เวลาเดินทาง 7 วัน 7 คืน ถึงกรุงเทพฯ วันที่ 20 พ.ค. 2492 โดยนั่งรถสามล้อจากท่าเรือถึงวัดบวรนิเวศวิหาร จึงเข้าไปกราบพระมหาจับ อุคฺคเสโน (พระธรรมรัชมงคล) พักกับท่านได้ 7 วัน ถึงวันที่ 27 พ.ค. 2492 เป็นวันที่รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 7 ประดิษฐาน ณ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และได้ท่านในฐานะอาคันตุกะได้นิมนต์ไปด้วย เนื่องจากพระสงฆ์ไม่พอ เห็นพระบรมมหาราชวังครั้งแรกรู้สึกงงงวย ทึ่งในความงาม และเข้าครั้งที่ 2 วันที่ 12 ส.ค. 2511 ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา ขณะนั้นเป็นพระโศภนคณาภรณ์แล้ว

    ขณะที่อยู่วัดเขมาภิรตาราม ก็ยังตั้งใจทวนพระปาติโมกข์และท่องสวดมนต์เพื่อเตรียมตัวเข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 22 ม.ค. 2493 ก็เดินทางจากวัดเขมาภิรตาราม มาวัดบวรนิเวศวิหาร ทางวัดให้พระมหามณี        เป็นผู้ซ้อมสวดพระปาติโมกข์และสวดมนต์ กำชับว่าต้องให้จบภายใน 1 เดือน แต่ท่านสามารถสวดซ้อมภายใน 20 วันก็จบตามหลักสูตร แต่นั้นจึงนำขึ้นถวายตัวแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ      วิหาร และไปกราบกรรมการวัดทุกรูป ภายใน 15 วัน สามารถจะรู้จักกับพระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารหมดทุกรูป

    เมื่อเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้สมปรารถนาก็ต้องเรียนตามที่ตั้งใจ แต่กว่าจะสอบได้เป็นมหาแบน ใช้เวลาเกือบ 10 ปี หรือสอบได้ในปี 2498 จากนั้น ก็เรียนที่สภาการศึกษา 10 ปี จบปริญญาตรี เมื่อจบแล้วได้ทำงานเป็นเสมียน ได้      รับนิตยภัต (เงินเดือน) เดือนละ 130 บาท และทำงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 มาจนถึงวันที่ 3 ก.ค. 2541 ก็ออก (นิตยภัต 1 หมื่นกว่าบาท)

    เมื่อมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดกับทั้งได้เป็นผู้คำนวณการย้ายราศีของดวงดาวให้แก่พระพรหมมุนี (ผิน) ผู้เป็นโหราศาสตร์และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และมีความรู้ไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนไฟฟ้าจาก 110         วัตต์ เป็น 220 วัตต์ จึงได้รับมอบหมายจากกรรมการวัดบวรนิเวศวิหารให้เป็นผู้ควบคุมการเปลี่ยนไฟฟ้าทั้งวัด กับทั้งมีความสามารถพิเศษเขียนหนังสือสวย อะไรที่ต้องการลายมือต้องหลวงปู่เขียน เพราะลายมือเทียบได้กับอาลักษณ์

สมณศักดิ์สมณศักดิ์

    พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็น เปรียญธรรม ๕ ประโยค

    พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็น พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ (พระครูปลัดของพระราชาคณะเจ้าคณะรอง)

    ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์

   ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสุมนต์มุนี ศรีปริยัติธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

   ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวราจารย์ พุทธิธรรมสารวิจิตร ศาสนกิจคุณาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

   ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราจารย์ สุวิธานปริยัติบัณฑิต กิตติสารโสภิต ศาสนกิจคุณาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

   ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระสุธรรมาธิบดี ปูชนียฐานประยุต มงคลวุฒคณาทร บวรศีลาจาร ศาสนภารธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆารามคามวาส